ลายแคนพื้นบ้านอีสาน
คีย์ลายโป้ซ้าย
ลายโป้ซ้าย คือทำนองลายสุดสะแนน ที่เลื่อนบันไดจากบันไดจีโหมด มาเป็นบันไดซีโหมด และออกสำเนียงทางเมเจอร์เหมือนกัน
ชื่อลายโป้ซ้าย ตั้งขึ้นตามอากัปกิริยาของผู้เป่าแคน ที่ต้องใช้นิ้วโป้ซ้าย ปิดรูนับของลูกแคนเสียง โด (ลูกที่1 แพซ้าย) ไว้ตลอดเวลาที่บรรเลงลายโป้ซ้าย
ลายโป้ซ้ายมีเสียงโด (เสียง C เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ด ร ม ฟ ซ ล ท
แต่อย่างไรก็ตาม ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายโป้ซ้ายคือ “ด ร ฟ ซ ล”
บันไดเสียงลายโป้ซ้าย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได C Mode ออกสำเนียงMajor ไม่ใช่บันได C Major แม้ว่าทำนองจะจบลงที่เสียง โด หรือ C และใช้เสียงโด เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได F Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง C เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายโป้ซ้าย มีลายน้อยเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และลายน้อยมีเสียง D หรือเร เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายโป้ซ้าย จึงต้องมีเสียง F หรือ ฟา เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงฟา หรือ F เป็นโทนิค ก็คือบันได F Major นั่นเอง
ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์
| Tonic Major | Tonic Minor |
คู่โทนิค | C | Am |
F | Dm | |
G | Em |
ที่มา http://www.isan.clubs.chula.ac.th/dontri/index.php?transaction=posai.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น