วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ระบบเสียง
ระบบเสียง
เนื่องจากแคนมีหลายชนิด หากจะแบ่งตามจำนวนลูกแคนเป็นคู่ ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น
แคนสาม (ปกติเรียกกันว่าแคนหก เพราะมีหกลูกหรือสามคู่) แคนสี่แคนห้า (แคนหก
ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบ – หมายถึงแคนที่มีหกคู่หรือสิบสองลูก) แคนเจ็ด แคนแปด และ
แคนเก้า ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแคนแปดซึ่งเป็นแคนที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด
ระบบของแคนแปดมีเสี้ยงทั้งหมด 16 เสียง แต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกันเสีย 2
เสียงฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด 15 เสียง เรียงลำดับจากต่ำไปสูงดังนี้ คือ
ลา ที โด เร มี ฟา ซอล (ซอล) ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา แต่เสียงทั้ง16เสียงนี้มิได้
เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน
หากแต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันเข้าไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษร
ของพิมพ์ดีด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและเหมาะสม ในการบรรเลงเพลงพื้นบ้านและลักษณะการ
ประสานเสียงทางดนตรีของชนแต่ละกลุ่ม
ที่มา
เนื่องจากแคนมีหลายชนิด หากจะแบ่งตามจำนวนลูกแคนเป็นคู่ ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น
แคนสาม (ปกติเรียกกันว่าแคนหก เพราะมีหกลูกหรือสามคู่) แคนสี่แคนห้า (แคนหก
ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบ – หมายถึงแคนที่มีหกคู่หรือสิบสองลูก) แคนเจ็ด แคนแปด และ
แคนเก้า ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแคนแปดซึ่งเป็นแคนที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด
ระบบของแคนแปดมีเสี้ยงทั้งหมด 16 เสียง แต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกันเสีย 2
เสียงฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด 15 เสียง เรียงลำดับจากต่ำไปสูงดังนี้ คือ
ลา ที โด เร มี ฟา ซอล (ซอล) ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา แต่เสียงทั้ง16เสียงนี้มิได้
เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน
หากแต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันเข้าไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษร
ของพิมพ์ดีด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและเหมาะสม ในการบรรเลงเพลงพื้นบ้านและลักษณะการ
ประสานเสียงทางดนตรีของชนแต่ละกลุ่ม
ที่มา
ประเภทของแคน
ประเภทของแคน
แคนแบ่งออกเป็นประเภทตามจำนวนของลูกแคน
1. แคนหก เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด ประกอบด้วยคู่แคนหกคู่ ( 3 คู่ )
เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่จะเป่าแล่น เพื่อความเพลิดเพลิน แต่อย่างไรแคนหกก็สามารถที่จะ
เล่นเพลงที่มีห้าเสียง คือ จะเป่าลายน้อยและลายโป้ซ้าย ซึ่งเป็นเพลงหลักของแคนได้
2. แคนเจ็ด เป็นแคนขนาดกลางประกอบด้วยคู่แคน 7 คู่ ปัจจุบัน
นิยมใช้เหมือนเมื่อก่อนแคนเจ็ดนี้คนในภาคกลางนิยมเล่นเป็นแคนวง สำหรับบรรเลงเพลง
ไทยเดิม
3. แคนแปดเป็นแคนที่นิยมที่สุดในภาคอีสาน ประกอบด้วยกู่แคน 8
คู่ และนับเป็นแคนขนาดกลางเช่นเดียวกับแคนเจ็ด เพียงแต่เพิ่มไม้กู่แคนขึ้นอีก 1 คู่
4. แคนเก้า มีขนาดใหญ่ที่สุดและยาวที่สุด ประกอบด้วยไม้กู่แคนเก้าคู่
มีความยาวประมาณ 2 เมตรครึ่ง และผู้เขียนยังเคยได้ยินว่าเมื่อก่อนนี้แคนเก้ามีความยาว
5 เมตร
ในสมัยก่อนแคนเก้าเป็นที่นิยมมากแต่ทุกวันนี้ไม่สะดวกที่จะนำแคนเก้าขึ้นรถยนต์
โดยสารหรือรถนั่งส่วนตัวและขณะเดียวกันแคนใหญ่ ๆ ต้องใช้ลมเป่ามากกว่าการเป่าแคน
เล็กดังนั้นจึงมีหมอแคนน้อยคนที่ยังเป่าแคนเก้าอยู่
ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%
E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8
แคนแบ่งออกเป็นประเภทตามจำนวนของลูกแคน
1. แคนหก เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด ประกอบด้วยคู่แคนหกคู่ ( 3 คู่ )
เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่จะเป่าแล่น เพื่อความเพลิดเพลิน แต่อย่างไรแคนหกก็สามารถที่จะ
เล่นเพลงที่มีห้าเสียง คือ จะเป่าลายน้อยและลายโป้ซ้าย ซึ่งเป็นเพลงหลักของแคนได้
2. แคนเจ็ด เป็นแคนขนาดกลางประกอบด้วยคู่แคน 7 คู่ ปัจจุบัน
นิยมใช้เหมือนเมื่อก่อนแคนเจ็ดนี้คนในภาคกลางนิยมเล่นเป็นแคนวง สำหรับบรรเลงเพลง
ไทยเดิม
3. แคนแปดเป็นแคนที่นิยมที่สุดในภาคอีสาน ประกอบด้วยกู่แคน 8
คู่ และนับเป็นแคนขนาดกลางเช่นเดียวกับแคนเจ็ด เพียงแต่เพิ่มไม้กู่แคนขึ้นอีก 1 คู่
4. แคนเก้า มีขนาดใหญ่ที่สุดและยาวที่สุด ประกอบด้วยไม้กู่แคนเก้าคู่
มีความยาวประมาณ 2 เมตรครึ่ง และผู้เขียนยังเคยได้ยินว่าเมื่อก่อนนี้แคนเก้ามีความยาว
5 เมตร
ในสมัยก่อนแคนเก้าเป็นที่นิยมมากแต่ทุกวันนี้ไม่สะดวกที่จะนำแคนเก้าขึ้นรถยนต์
โดยสารหรือรถนั่งส่วนตัวและขณะเดียวกันแคนใหญ่ ๆ ต้องใช้ลมเป่ามากกว่าการเป่าแคน
เล็กดังนั้นจึงมีหมอแคนน้อยคนที่ยังเป่าแคนเก้าอยู่
ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%
E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8
ประวัติของแคน
ประวัติความเป็นมาของแคน
แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้าน เพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้มี หญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้อง ให้นายพรานล่าเนื้ออนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นาย พรานได้เล่าให้ฟัง ในวันต่อมาครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึง ถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดู ก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก จนในที่สุดเมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ
ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า
"เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่ เป็นลักษณะนามเรียกชื่อและจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่
แคนเจ็ด
แคนแปด
วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยากเขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อยซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย
"แคน" ที่กล่าวถึงในพงศาวดาร
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏ และได้ทำการปราบปรามจนสามารถจับเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2370 ก็ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวชาวเวียงจันทน์และชาวเมืองอื่น ๆ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ดังข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ความว่า
"ครอบครัวเวียงจันทน์ครั้งนั้น โปรดเกล้าให้อยู่เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี เมืองสุพรรณบุรี บ้าง เมืองนครชัยศรีบ้าง พวกเมืองนครพนม พระอินทร์อาสาไปเกลี้ยกล่อมก็เอาไว้ที่เมืองพนัสนิคม กับลาวอาสาปากน้ำ ซึ่งไปตั้งอยู่ก่อน"
เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าครอบครัวชาวเวียงจันทน์ ชาวบ้านราษฎรฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้ถูกกองทัพ ไทยกวาดต้อนมาเป็นเชลยถึง 2 ครั้ง 2 ครา ให้อยู่ในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ทั้งในภาคกลางบ้าง ภาค อีสานบ้าง ตามรายทางการถูกกวาดต้อนมา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แม้แต่ดนตรี ต่าง ๆ ที่เป็นประจำพื้นเมืองของชาวบ้าน ก็คงจะต้องนำติดตัวมาด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุนี้ "หมอลำ-หมอแคน" อันเป็นศิลปะการร้องรำของชาวฝั่งขวาแม่น้ำโขง จึงได้ถูกนำติดตัวมารำ-ร้อง และบรรเลง เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ในยามคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนอย่างแน่นอน ศิลปะ แขนงนี้ จึงได้ถูกนำมาร้องเผยแพร่ในภาคกลาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้แต่ในเมืองหลวงเองก็ยังมี การละเล่นหมอลำ หมอแคนกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว พอมาถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิทธิพลของการละเล่นหมอลำ หมอแคนยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ข้าราชบริพารของ พระมหากษัตริย์หลายท่านก็มีความนิยมในการละเล่นและสนับสนุนเป็นอย่างมาก แม้แต่พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอนุชาในรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงโปรดการแสดงหมอลำหมอแคน มาก จนถึงกับทรงลำและเป่าแคนได้เป็นอย่างดี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 4 หน้า 315 มีความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าว่า
"พระองค์ทรงโปรดแคน ไปเที่ยวทรงตามเมืองพนัสนิคมบ้าง ลาวบ้านลำประทวน เมือง นครชัยศรีบ้าง บ้านศรีทา แขวงเมืองสระบุรีบ้าง พระองค์ฟ้อนและแอ่วได้ชำนิชำนาญ ถ้าไม่ได้เห็น พระองค์ก็สำคัญว่า ลาว"
หมอลำ หมอแคน กลายเป็นมหรสพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้น จนมหรสพอื่น ๆ เป็นต้น ว่า ปี่-พาทย์ มโหรี โสภา ปรบไก่ สักวา เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ ต้องแพ้การละเล่นลำแคน หรือหมอลำ หมอแคนอย่างราบคาบ จนหากินแทบไม่ได้ ครั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ พากันนิยมเล่นแคนหนัก เข้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เกิดความวิตก ด้วยพระองค์เห็นว่า การละเล่น ลำแคนไม่ควรเอาเป็นพื้นเมืองของไทย จึงได้ทรงประกาศห้ามการเล่นลำแคนขึ้น ซึ่งสมัยนั้นเรียก ว่า การเล่น "แอ่วลาว" บ้าง "ลาวแคน" บ้าง ซึ่งได้แก่การลำที่มีการเป่าแคนประสานเสียง ซึ่งเรียกว่า "หมอลำ" สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ขับร้องและออกท่ารำประกอบ และ "หมอแคน" คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป่า แคน ประสานเสียงประกอบเป็นทำนองเพลงต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น นักร้องจะ ร้องเพลงได้ไพเราะน่าฟังจะต้องมีดนตรีประกอบการขับร้องฉันใด หมอลำจะขับลำได้อย่างไพเราะ ก็จะต้องมี "หมอแคน" ประกอบการขับลำ การขับลำนั้นจึงจะสมบูรณ์ก็ฉันนั้น
จากพระราชพงศาวดารดังกล่าวนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมศิลปินผู้ทำให้ "แคน" เป็นที่ รู้จักของชาวต่างชาติ จากการตระเวนไปแสดงยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงมีภูมิลำเนาอยู่ในภาค กลาง ครับ... ผมกำลังหมายถึง สมัย อ่อนวงศ์ ขุนพลแคนแดนสยาม นั่นเอง แต่ถ้าจะกล่าวถึง หมอแคนที่สร้างชื่อของคนอีสาน ส่วนใหญ่จะนึกถึงหมอแคนผู้นี้ครับ สมหวัง เอวอ่อน ด้วยลีลา และท่าทางการเป่าแคนอันไพเราะจับใจ
ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)